พระพุทธรูปอมิตาภะปางสมาธิ
สมบัติของประเทศ
สมัยเฮอัน
ทำโดย โจโช
277.2cm
สร้างจากไม้ *อาคาร
อุรุชิฮักขุ
พระพุทธรูปอมิตาภะปางสมาธิ
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
พระพุทธรูปอมิตาภะ (หรือพระอมิตาภพุทธเจ้า) ในวัดเบียวโดอิน ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติ ได้ประดิษฐานอยู่บนบัลลังก์รูปดอกบัวภายในศาลานกฟีนิกซ์มานานเกือบ 1,000 ปีแล้ว ภาพนั้นจ้องมองผู้บูชาด้วยดวงตาที่หลับตาลงครึ่งหนึ่งราวกับกำลังนั่งสมาธิ ขาข้างหนึ่งทับอีกข้างหนึ่งอยู่ในท่าทางการทำสมาธิ พระพักตร์ที่อ่อนโยน ท่าทางนั่งตรง และพระหัตถ์ที่แสดงปางสมาธิอันศักดิ์สิทธิ์ ล้วนบ่งบอกถึงพระพุทธเจ้าที่กำลังทรงอภิธรรมอยู่ในภาวะสงบและตั้งมั่น พระพุทธรูปองค์นี้สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1053 เพียงหนึ่งปีหลังจากที่ขุนนางชั้นสูง ฟูจิวาระ โนะ โยริมิจิ (ค.ศ. 992-1074) ได้ก่อตั้งวัดเบียวโดอินขึ้น ผู้ศรัทธาในนิกายโจโด (นิกายสุขาวดี) ต่างหวั่นเกรงว่ายุคแห่งมัปโป (ยุคที่ธรรมเสื่อม) กำลังจะมาถึง แล้วทำให้หลักคำสอน รวมถึงการปฏิบัติธรรมตามแบบดั้งเดิมของพุทธศาสนานั้นจะเสื่อมสลายลงไป ผู้ศรัทธาอย่างโยริมิจิมีความหวังว่าจะได้กลับชาติมาเกิดในสุขาวดี และจะก้าวสู่ความหลุดพ้นภายใต้สภาวะที่อำนวยโดยพรของพระอมิตาภะ โยริมิจิได้ให้สร้างพระประติมากรรมนี้ขึ้นมาด้วยความหวังว่า การกระทำด้วยศรัทธานี้จะช่วยให้เขาได้ไปเกิดในแดนสุขาวดีทางทิศตะวันตกของพระอมิตาภะ พระพุทธรูปสูง 2.8 เมตร องค์นี้เป็นผลงานชิ้นเดียวที่หลงเหลืออยู่ซึ่งเชื่อว่าเป็นฝีมือของโจโช (ค.ศ. ?–1057) ช่างปั้นพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงในสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794-1185) โจโชมีอิทธิพลอย่างสูง พระอมิตาภะที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดเบียวโดอินของเขาได้กลายเป็นมาตรฐานทางศิลปะในการสร้างพระพุทธรูปในอีกสองร้อยปีต่อมา โจโชและลูกศิษย์ของเขาได้สร้างพระอมิตาภะองค์นี้ขึ้นมาโดยใช้เทคนิคการต่อไม้แบบโยเซกิ-สึกุริ ซึ่งเป็นวิธีการต่อไม้แบบญี่ปุ่นโบราณ เทคนิคนี้เกี่ยวข้องกับการนำชิ้นส่วนไม้ขนาดเล็กมาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรงทนทาน หลังจากที่โจโชและลูกศิษย์ของเขาได้นำชิ้นส่วนไม้ฮิโนกิมาต่อกันและแกะสลักเป็นรูปร่างแล้ว ก็ได้มีการปิดทับรอยต่อของพระพุทธรูปด้วยผ้าหลายชั้น วานิช และทองคำเปลว ขั้นตอนสุดท้ายนี้ทำให้พระพุทธรูปเปล่งประกายสีทองราวกับแสงสวรรค์
ทาจิบานะ โนะ โทชิซึนะ
ท่านเป็นบุตรชายคนที่สามของฟูจิวาระ โนะ โยริมิชิ และถูกอุปถัมภ์โดย ทาจิบานะ โนะ โทชิโต ท่านได้รับอิทธิพลจากบิดาของท่าน จึงมีความรู้ความสามารถในการออกแบบสวนอย่างลึกซึ้ง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สกุเทกิ
หนังสือเกี่ยวกับการจัดสวนที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยเฮอัน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สระอจิอิเกะ
ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ได้ใช้สัญลักษณ์ '阿' ซึ่งหมายถึงความจริงที่ว่าจักรวาลทั้งมวลไม่มีการเกิดและดับ เพื่อสร้างสรรค์สวนที่เป็นเหมือนสระบัวอันศักดิ์สิทธิ์ในโลกของไดนิจิเนียวไร ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความปรารถนาที่จะไปยังดินแดนสุขาวดี โดยมักมีเกาะกลางสระ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระราชวังของพระอมิตาภะ ทำให้ดูคล้ายกับพระราชวังที่ลอยอยู่บนสระบัวในสรวงสวรรค์
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สวนสไตล์โจโด
รูปแบบหนึ่งของสวนญี่ปุ่นที่สร้างขึ้นในช่วงระหว่างสมัยเฮอัน(ค.ศ.749–1185) ถึงสมัยคะมะคุระ(ค.ศ.1185–1333)
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โพธิสัตว์
ผู้ที่แสวงหาความรู้แจ้งตามแนวทางของพระพุทธเจ้า และปฏิบัติธรรมเพื่อช่วยเหลือสัตว์โลก
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
พระจิโซ
พระโพธิสัตว์ที่ปรากฏขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้คนในช่วงระหว่างที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว จนถึงก่อนที่พระโพธิสัตว์ไมตรีจะมาปรากฏ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
พระโพธิสัตว์กวนอิม 11 หน้า(พระอวโลกิเตศวร)
พระพุทธรูปที่เป็นที่เคารพนับถือมาตั้งแต่สมัยนารา และเป็นที่เชื่อกันว่าทรงมองเห็นทุกทิศทุกทางเพื่อช่วยเหลือผู้ที่กำลังทุกข์ยาก
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ซึริโดโนะ
อาคารหลักในสถาปัตยกรรมแบบชินเด็ง ซึ่งเป็นอาคารเปิดโล่ง ไม่มีผนังและประตู สร้างอยู่ริมสระน้ำ
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สมัยเท็นเปียว
เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ปีค.ศ.729 ถึง 749 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงนารา คือ พระราชวังเฮโจเคียว วัฒนธรรมในช่วงเวลานี้เป็นวัฒนธรรมของชนชั้นสูงและพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองอย่างมาก และเนื่องจากเป็นช่วงที่ตรงกับรัชสมัยของจักรพรรดิโชมุ จึงเรียกวัฒนธรรมในช่วงนี้ว่า วัฒนธรรมเท็นเปียว
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สมัยคะมะคุระ
เป็นสมัยที่มีระยะเวลาประมาณ 150 ปี ตั้งแต่มินะโมะโตะโนะโยะริโทะโมะก่อตั้งรัฐบาลปกครองที่คะมะคุระ จนถึงการเสียชีวิตของโฮโจ ทะคะโทะคิ ในปีที่ 3 ของรัชสมัยเกนโค (ค.ศ. 1333)
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โยเซกิ-สึคุริ
เทคนิคการแกะสลักไม้ซึ่งใช้ไม้หลายชิ้นมาประกอบกันเพื่อสร้างส่วนหัวและลำตัวของรูปปั้น วิธีการนี้เกี่ยวข้องกับการเจาะส่วนภายในเพื่อลดน้ำหนัก ทำให้สามารถสร้างรูปปั้นขนาดใหญ่โดยใช้ไม้เพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีข้อดีอื่นๆ อีกมากมาย เทคนิคนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของญี่ปุ่น และได้รับการปรับปรุงตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794–1185)
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
โจโช
เป็นช่างแกะสลักพระพุทธรูปในยุคกลางของสมัยเฮอัน บิดาของท่านคือโคโจ และท่านได้รับตำแหน่งทางศาสนาเนื่องจากความสำเร็จในการสร้างพระพุทธรูปให้กับวัดโฮโจจิ ปัจจุบันผลงานที่เหลืออยู่เพียงชิ้นเดียวคือพระพุทธรูปปางสมาธิพระอมิตาภะในพระอุโบสถของวัดเบียวโดอินและท่านยังเป็นผู้พัฒนาวิธีการสร้างพระพุทธรูปแบบโยเซกิ-สึคุริ (ต่อไม้หลายชิ้นเข้าด้วยกัน)ให้สมบูรณ์แบบอีกด้วย
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ยุคแห่งมัปโป
ในพุทธศาสนามีความเชื่อเกี่ยวกับการแบ่งยุคสมัยออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคธรรมะแท้(โชโบ) ยุคปฏิบัติตามแบบอย่าง(โซโบ) และยุคเสื่อม(มัปโป) โดยยุคเสื่อมเป็นยุคที่แม้ผู้คนจะพยายามปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้อง แต่ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ เนื่องจากหลักธรรมคำสอนได้เสื่อมลงไปแล้ว
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
นิกายโจโด
ความเชื่อในการไปเกิดในดินแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นที่สถิตของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ สุขาวดีได้แก่ สุขาวดีตะวันตกของพระอมิตาภะ สุขาวดีของพระยคุชิเนียวไร สวรรค์ดุสิตของพระโพธิสัตว์ไมตรี และภูเขาโปตาลกะของพระคันนง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
แดนสุขาวดี (โจโด)ทางทิศตะวันตก
คำศัพท์นี้หมายถึง ดินแดนสุขาวดีที่พระอมิตาภะเป็นประธาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกอันไกลโพ้น ห่างจากโลกมนุษย์ออกไปด้วยระยะทาง 10,000 โกฏิจักรวาล และถูกบรรยายว่าเป็นโลกที่สงบสุข ปราศจากกิเลสตัณหา โดยมีดอกบัวบานสะพรั่ง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
ฟุจิวาระ โนะ โยริมิจิ
เกิดระหว่างปี 992 (ปีโชริวที่3) ถึงปี 1074 (ปีโจโฮที่1) เป็นบุตรชายของฟูจิวาระ โนะ มิชินากะ และมีมารดาชื่อ รินชิ ซึ่งเป็นธิดาของมินาโมโตะ โนะ มาซาโนบุ ท่านดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสูงสุดให้แก่จักรพรรดิ 3 พระองค์ ได้แก่ จักรพรรดิโกะ-ซุซากุ และโกะ-เรเซย์ ในปี 1027 (ปีมันจูที่4) ท่านได้สืบทอดตำแหน่งและทรัพย์สินจากมิชินากะ บิดาของท่าน และได้ครอบครองที่ดินในอุจิ และในปี 1052 (ปีเอโชที่7) ท่านได้สร้างวิหารหลักและตั้งชื่อว่า เบียวโดอิน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
สมัยเฮอัน
เป็นสมัยที่มีระยะเวลาประมาณ 400 ปี ตั้งแต่จักรพรรดิคันมุจัดตั้งเฮอันเป็นเมืองหลวงที่ประทับ (ค.ศ. 794) จนถึงมีการจัดตั้งรัฐบาลปกครองคะมะคุริ (ค.ศ. 1185) ซึ่งเป็นสมัยที่อำนาจปกครองมีศูนย์กลางอยู่ที่เฮอันเคียว (เกียวโต) โดยปกติจะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงต้นสมัย ช่วงกลางสมัย และช่วงท้ายสมัย หรือหมายถึง สมัยฟื้นฟูระบบการปกครอง(ริซึเรียว) สมัยผู้สำเร็จราชการ(เซคคัน) และสมัยอินเซ (ช่วงปลายสมัยเป็นการปกครองโดยตระกูลไทระ) หรือเรียกว่าเป็น สมัยเมืองเฮอัน
มรดกทางวัฒนธรรมที่ใช้คำนี้
-
วิหารนกฟีนิกซ์ของวัดเบียวโดอิน
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
วิหารนกฟีนิกซ์ของวัดเบียวโดอิน
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
ปิด
-
พระพุทธรูปอมิตาภะปางสมาธิ
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
พระพุทธรูปอมิตาภะปางสมาธิ
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
ปิด
-
วิหารพระโพธิสัตว์ (คันนงโด) ของวัดเบียวโดอิน
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
วิหารพระโพธิสัตว์ (คันนงโด) ของวัดเบียวโดอิน
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
ปิด
-
พระโพธิสัตว์กวนอิม 11 เศียร ปางประทับยืน สร้างจากไม้
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
พระโพธิสัตว์กวนอิม 11 เศียร ปางประทับยืน สร้างจากไม้
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
ปิด
-
สวนของวัดเบียวโดอิน
- ดูรายละเอียด
เสียงบรรยาย
สวนของวัดเบียวโดอิน
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
ปิด